วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติของไดโนเสาร์

  ประวัติของไดโนเสาร์(History of dinosaurs)

                         

ประวัติของไดโนเสาร์

           เมื่อหลายล้านปีก่อนโลกได้กำเนิดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นมาบนโลก มี หลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็มีหลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็ซึ่งต่างก็ได้รับสมญานามว่าเป็นนักล่า โดยเฉาะ ทีแร็กซ์ และแร็พเตอร์ นับว่าเป็นนักล่าในยุคจูลลาสสิค และฝ่ายหาอาหารจากพืชก็จะมีสิ่งป้องกันบางอย่างเพื่อเป็นเกราะคุ้มครองของตน เอง เช่นหนามที่แหลมคม พวกนี้จะไม่ทำอันตรายพวกอื่นก่อนถ้าไม่ถูกรบกวนหรือถูกรุกรานก่อน แต่แล้วสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะต้องเผชิญกับหายนะอันใหญ่ หลวงของโลกจากกลุ่มหินอุกกาบาตที่เข้าถล่มโลกอย่างบ้าคลั่ง ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องจบสิ้นลงไปด้วยเพราะไม่อาจทนความร้อนได้ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเขม่าและควันไฟที่โพยพุ่ง โลกเต็มไปด้วยความมืดมิดไม่มีแสงสว่าง และเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปีและโลกเริ่มเย็นขึ้นๆเรื่อยๆ และต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เริ่มเข้ายุคใหม่ที่เริ่มก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตยุดใหม่เข้ามาแทนที่สัตว์ใหญ่ ที่เคยครองโลกอยู่คงเหลือแต่ซากเถ้ากระดูกและฟอสซิลให้เห็นมาจนตราบทุก วันนี้

                         

          ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือ ซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก ประโยชน์ของฟอสซิล ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วง ระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอก สภาพแวดล้อมของ โลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น เฉพาะบางชนิดเท่านั้น จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch) ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน


                         

        ไดโนเสาร์พวกแรก      ปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของ  ยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้าน ปีมาแล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้าน ปี ละเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปีมา นี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น1ชนิดในทุกสัปดาห์นักโบราณชีววิทยาแบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น2กลุ่มใหญ่โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกรานคือ 

                         

          1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
          2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้งสอง (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง ฟันของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์ 


                         

ยุคต่างๆของไดโนเสาร์

          มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุค ซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนเสาร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิด ขึ้นมาจะมีขนาดเล็ก  เดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมา ในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย 

                           
                         
                         
                         
                            
 
ยุคไตรแอสสิก (Triassic) 190-225 ล้านปี 

        การ ครอบครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึง ขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุต และได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหา เพียงชนิด เดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้ง ใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญ พันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์ เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขาม ที่สุด ในหมู่พวกมันและใน ช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อย คลาน ที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้า ธีโคดอน ซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้ อย่าง มากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิก และกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์ เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวใน การล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรือ อีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุต ซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรง นักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่ง เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้อง วิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะ หลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด

                           

ยุคจูแรสสิก (Jurassic) 135-190 ล้านปี  

         ไดโนเสาร์ ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิก พวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลก ในยุค นี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลาง ของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวก พืช ในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอ โรพอด(Sorropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็น ไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์ สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ บราคคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิโพลโดคัส(Diplodocus) และอะพาโทซอรัส (Apatosaurus)หรือ อีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิด อื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่ และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดี ชีววิทยา(paleontology)เชื่อ ว่าพวกมันใช้หางที่หนา หนักศัตรูที่มา จู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุลย์ ของสรีระของมัน

                           

ยุคคริเตเซียส  (Cretaceous) 65-135 ล้านปี

        ยุค ครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิก สัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีการค้นพบที่จังหวัดฟุกุชิมาได้แก่ พวกไดโนเสาร์คอยาว โมซาซอรัส เป็นพวกกิ้งก่าทะเล อาเครอน เป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มี เคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมาย ยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อ มีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อาร์บาโตซอรัส ไทแรนโนซอรัสปรากฎในยุคนี้มีลักษณะ ดังนี้ ไทแรนโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียน ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัส พวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืช พวกที่ถูกค้นพบครั้งแรก ก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ สเตโกซอรัส แองคีลอซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อน จะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์ บางพวกเริ่มตายลงและ สูญพันธุ์ หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก

                          

ทำไมไดโนเสาร์สูญพันธุ์
               
         ครั้นเมื่อช่วงปลายยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS)  เมื่อประมาณ  ๖๕  ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว  ไดโนเสาร์มีขนาดใหญ่จึงได้สูญพันธุ์ไปจนหมดโลก  หลังจากที่ไดโนเสาร์สูญสิ้นพันธุ์ไปจากโลกถึง  ๖๐  ล้านปีแล้ว  โลกจึงปรากฏต้นตระกูลของมนุษย์วานรขึ้นเมื่อ  ๕  ล้านปี  มนุษย์วานรนี้ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน  ไดโนเสาร์มีขนาดเล็กนั้นได้วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สกุลต่าง ๆ มากมาย  ซึ่งมีการค้นคว้าและได้ไดโนเสาร์ชนิดใหม่  (สัตว์เลื้อยคลาน) อีก  โดยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก


                         

         ปัจจุบันได้มีการสำราจหาไดโนเสาร์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตจนทำให้มีการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล  สภาพภูมิอากาศ และการะเบิดจากนอกโลก  (SUPEMOVE)  และอื่นอีกมากมาย  แต่ได้รับความสนใจและต่างมีเหตุผลที่พอรับฟังได้ คือ
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย (Asteroidimpact)ที่ทำให้เกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นจนฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ม่านมืดบดบังแสงอาทิตย์ จนเป็นผลทำให้เกิดความมืดมิดและควาหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่เป็นเวลานานนับเดือนจนไดโนเสาร์นั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกได้  ด้วยเหตุที่มีสภาพแวดล้อมที่รุนแรงดังกล่าว


                         

        1.หลักฐานที่นำมาอ้างข้อสรุปนี้คือ  การพบธาตุ  อิริเดียม  (IRIDIUM)  จำนวนมากกว่าปกติในชั้นดินบาง ๆ  (CLAY)  ที่มีอายุอยู่ในช่วงลอยต่อระหว่างยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS)และ
 (TERTIARY  (K-T  BOUNDARY)ในบริเวณต่าง ๆ  ของโลก  นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าโลกนั้นเคยเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่แหลมในประเทศเมกชิโก  เรียกว่า  โครงสร้าง  CHICXULUB  ATRUCTURE

          2.ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เนื่องจากการระบิดของภูเขาไฟในบริเวณที่ราบสูงเดคาน  (DECCAN)  ของ
ประเทศอินเดีย  (DECCAN  TRAPS  VOLCANISM)  ซึ่งถือว่าเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของการกำเนิดโลก  ด้วยเป็นการระเบิดที่รุนแรง  อันเนื่องมาจาก  MANTLE  PLUME  และHOTSPOT  ที่อยู่ใต้พื้นโลกจนทำให้เกิดลาวาชนิด  BASALTIC  (BASALTIC  LAVA)  จำนวนมหาศาลดันเปลือกโลกขึ้นมาแล้วไหลลงมาคลุมพิ้นโลก  มีพื้นที่ถูกลาวาคลุมมากกว่า  ๑  ล้านตารางไมล์  และมีความหนากว่า  ๑  ไมล์  จนเกิด  MANTLE  DEGASSING  ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์  และไอน้ำ  ถูกความร้อนจนระเหยขึ้นบนผิวโลกด้วยอัตราที่มากจนผิดปกติ  จนก่อให้เกิดชั้น  GREENHOUSE  GASES  ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน  จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลก  ทำให้ไม่มีการถ่ายเท  จนอุณภูมิสูงขึ้น  อันเป็นผลให้วัฏจักของคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนเปลี่ยนแปลงไป  จนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์


                         

         ส่วนสาเหตุที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์นั้นสันนิษฐานว่า   ไดโนเสาร์นั้นอาจจะสูญพันธุ์ไปจากสิ่งแวดล้อมบนโลกไม่เอื้ออำนวยการดำรงชีวิตอยู่  โดยเฉพาะ  อาหารเป็นพิษ  และเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรงในทุกพื้นที่ทั่วโลกดังนั้นไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์ไปจากโลก  เนื่องจากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าวขึ้นบนพื้นโลกในยุคเตอร์ติอารี  เมื่อประมาณ  ๖๕-๒.๕  ล้านปีมาแล้วเมื่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง  ร่างของไดโนเสาร์จึงถูกทับถมไปกับดิน  ส่วนที่เป็นเนื้อหนังก็พุหลุดไปตามสภาพ  จึงเหลืออยู่แต่ส่วนที่แข็ง  คือ 
กระดูก  และฟันที่ถูกหินดินโคลนทรายถูกทับถมอยู่นับล้านปีจนเป็นซากดึกดำบรรพ์ในชั้นดินของโลกที่เป็นโคลนทรายในยุคดึกดำบรรพ์นั้น  ได้ทับถมไดโนเสาร์แล้วอัดแน่นจนเป็นหินและผนึกแผ่นในชั้นหินธรรมชาติ  ดังนั้น  เมื่อพื้นผิวโลกมีการปรากฏตัวตามธรรมชาติ  จึงมีการยกชั้นหินบางส่วนให้สูงขึ้น  แล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินจากความร้อนของดวงอาทิตย์  จากความเย็นของน้ำแข็ง  ฝน  และลม  ในที่สุดได้ทำให้ชั้นที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่นั้นถูกดันขึ้นมาบนพื้นโลก  จนซากดึกดำบรรพ์นั้นปรากฏขึ้นในพื้นที่บางส่วนให้นักสำรวจโลกดึกดำบรรพ์และนักธรณีวิทยาได้ค้นพบและทำการศึกษาเรื่องนี้ขึ้น

          การทับถมในครั้งนั้นได้เกิดอย่างรวดเร็วจนโคลนทรายพากันไหลเข้ากลบร่างของสัตว์ดึกดำบรรพ์  เช่น  ไดโนเสาร์ให้ตายในทันที  โครงกระดูกก็จะปรากฏเรียงรายอยู่อุดมสมบูรณ์ในตำแหน่งที่ถูกโคลนทรายกลบ
แต่ถ้าหากการทับถมนั้นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ  คือ  โคลนทรายค่อย ๆ  ไหลทำให้ไดโนเสาร์ไม่ตายในทันที  ก็จะมีการดิ้นรนก่อนตายทำให้โครงกระดูกมีโอกาสที่จะอยู่กระจัดกระจายแล้วยังไปปะปนไปกับโคลนหินดินทรายด้วย
ด้วยเหตุที่โคลนทรายนั้นมีแร่ธาตุต่าง ๆ  เช่น  แคลไซด์  เหล็กซัลไฟต์และซิลิก้า  เมื่อมีการทับถมบนร่างของไดโนเสาร์ก็จะซึมเข้าสู่เนื้อ  กระดูก  แล้วเข้าไปอุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่  จนทำให้กระดูกนั้นแกร่งขึ้น  จนสามารถรับน้ำหนักของหินดินทรายที่ทับถมกันต่อมาภายหลังได้ดี  เมื่อทับถมนานวันนับล้าน ๆ ปี  เช่นนี้  ด้วยเหตุมีอาการของออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปถึงซากของไดโนเสาร์ได้  นานวันไดโนเสาร์ก็จะกลายเป็นสภาพจากกระดูกแข็งเป็นหินโดยธรรมชาติ  เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคงอยู่ในลักษณะเดิมให้ได้ศึกษา  เมื่อมีการค้นพบตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ  ๖๕  ล้านปีนี้  สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงให้เป็นหินแข็งของไดโนเสาร์นั้นคือ  ฟัน  ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดจึงคงสภาพเดิมอยู่
สำหรับโครงกระดูกของไดดนเสาร์นั้น  แม้ว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดเข้าไปกัดกร่อนทำลายกระดูกและทั้งลักษณะของกระดูกไว้เป็นโพรงก็ตาม  ได้มีการค้นพบว่าโพรงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เปรียบเสมือนแม่พิมพ์  ที่ทำให้เก็บร่องรอยอื่น ๆ  ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี  กล่าวคือ  เมื่อมีแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ในโพรงนั้นก็ทำให้เกิดรอยรูปหล่อของรอยผิวหนัง  ที่ทำให้ได้ข้อมูลเรื่องผิวหนังของกระดูกไดโนเสาร์ด้วย


                         

          บางแห่งพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้เคยถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
การสำรวจได้มีการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหิน  ซากดึกดำบรรพ์นี้เดิมเป็นดินโคลนที่มีร่องรอยเท้าของไดโนเสาร์  เมื่อมีการทับถมนานวันก็มีการรักษารอยเท้านั้นไว้ตามธรรมชาติของการอัดแน่นของดินหินทราย  ซึ่งทำให้เรียนรู้ถึงชนิดของไดโนเสาร์  ลักษณะของการเดินของสัตว์ขนาดใหญ่นี้ว่า  เดิน  ๒  ขา  เดิน  ๔  ขา  ด้วยอาการเชื่องช้าหรือว่องไว  อยู่เป็นกลุ่มหรืออยู่ตัวเดียว
นอกจากนี้บางแห่งยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์  ในส่วนอื่น ๆ เช่น  มูลที่ถ่ายทิ้งเรียก  คอบโปร์ไลท์  ที่ทำให้รู้ถึงขนาดและลักษณะของลำไส้  ไข่ที่ทำให้ไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่  บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด
บางแห่งพบโครงกระดูกอยู่ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง  จึงได้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดมี  การดูแลและการฟักไข่ด้วยตัวเอง
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์บกที่มีชีวิตอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ  ๒๔๕ – ๖๕  ล้านปีมาแล้ว คือ  ช่วงยุคตรีเอซิค (TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเซียส   (CRETACEOUS)  ดังนั้น  ซากดึกดำบรรพ์จึงพบอยู่ในชั้นหินตระกอนที่สะสมบนพื้นดินในช่วงยุคตรีเอซิค  (TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเซียส  (CRETACEOUS)   วึ่งเป็นชั้นหินในยุคเมโสโซอิก  (MESOZOIC)

                         

          สำหรับเรื่องราวดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยนั้น  เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยา  ได้พบว่าแผ่นดินในประเทศไทยนั้นมีชั้นหิน  เมโสโซอิก  (MESOZOIC)  โผล่ขึ้นมาตามบริเวณที่ราบสูงโคราช  ที่ราบสูงภาคอีสานบางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้  ชั้นเหล่านี้ประกอบด้วยชั้นหินดินดาน  หินทรายแป้ง  หินทรายและหินกรวดมน  ซึ่งส่วนมากเป็นหินสีน้ำตาลแดง  ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและหินยิบซั่มอยู่ด้วย  เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกว่า  ชั้นหินตะกอนแดง  (RED  BED)  หรือกลุ่มหินโคราช
หินกลุ่มโคราชนี้  มีความหนากว่า  ๔,๐๐๐  เมตร  ดังนั้นจึงทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์  และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ  จึงมีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมาย  เช่นภูเวียง  ภูพาน  และภูหลวง  เป็นต้น  ถือเป็นแหล่งที่อยู่ไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งก่อนที่จะเกิดการสูญพันธุ์

          ดังนั้น  การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์จากการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรุนแรง  ทำให้เปลือกโลกปกคลุมรักษาซากดึกดำบรรพ์ให้ศึกษาข้อมูลในปัจจุบัน


                        
                           

ที่มา http://dino.igetweb.com/index.php?mo=3&art=413171 
          http://blog.eduzones.com/nunthida/981
          http://www.buapit.ac.th/web/dinosaur/dinopic.html  

                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น