วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติสัตว์ป่าสงวน


สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารสุโขทัย ชั้น ๑๒ ประกอบขึ้นด้วย สถานีวิจัยสัตววิทยา (สวนนกรามคำแหง) มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งอยู่บนพื้นที่ ๔ ไร่ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา (ราม ๒) จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ ด้วยจุดประสงค์เพื่อใช้ในการวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อโครงการวิจัยการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์นกขุนทองไทยในกรงเลี้ยง ซึ่งจำนวนประชากรในธรรมชาติของสัตว์ป่าชนิดนี้ลดลงเป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา เพราะได้รับความนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการขยายพันธุ์ในกรงเลี้ยงยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่สถานีวิจัยสัตววิทยาแห่งนี้ ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์นกขุนทองในกรงเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี ทั้งในและนอกฤดูสืบพันธุ์เป็นรายแรก และได้รับการเผยแพร่ถึงความสำเร็จในนามของ “มหาวิทยาลัยรามคำแหง” ตามสื่อต่าง ๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ทั้งในและต่างประเทศ จำนวนมากกว่า ๒๘ ฉบับ สื่อโทรทัศน์และวิทยุ จำนวนมากกว่า ๒๐ รายการ
สถานีวิจัยสัตววิทยา ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ เพื่อให้สถานีวิจัยแห่งนี้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด และเพื่อใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งในภายหลังได้ให้กำเนิดโครงการที่นำไปสู่การบริการสังคมและชุมชนหลายโครงการ อาทิเช่น
๑."โครงการอนุรักษ์นกไทยสู่เยาวชน "  ฝึกอบรมเยาวชน นักเรียน ให้เรียนรู้เกี่ยวกับนก วิธีการดูนก วิธีการเลี้ยงและปฏิบัติต่อนกในกรงเลี้ยง โดยได้จัดสร้างกรงนกขนาดใหญ่ (Walk-in Aviary) และจัดตกแต่งสภาพแวดล้อมภายในให้มีลักษณะเป็นป่าเขตร้อน
๒."โครงการห้องเรียนธรรมชาติ " เยาวชน นักเรียน จากโรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลขอใช้เป็นห้องปฏิบัติการนอกห้องเรียนสำหรับนักเรียนและเยาวชนเข้าศึกษาธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังเป็นที่สำหรับให้คณาจารย์ นักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก โดยเฉพาะจากคณะวิทยาศาสตร์ใช้เป็นแหล่งเก็บตัวอย่างเพื่อทำการวิจัย และทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจากการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวบ้านและผู้ที่เลี้ยงนกทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดได้นำนกชนิดต่างๆ มามอบให้กับสถานีวิจัยสัตววิทยา ทางสถานีวิจัยฯ ก็ทำการเพาะเลี้ยงนกดังกล่าวจนสามารถขยายพันธุ์นกชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นนกที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและนกป่าบางชนิดที่หาได้ยากและใกล้สูญพันธุ์และเลี้ยงไว้เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและแหล่งศึกษาวิจัยให้กับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและผู้สนใจเข้ามาศึกษาหาความรู้ต่อไป
ซึ่งในปัจจุบันสวนนกรามคำแหงสามารถเพาะและขยายพันธุ์นกที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ดังกล่าวนอกเหนือจากนกขุนทอง ได้หลายชนิด เช่น นกปรอดหัวโขน นกแก้วโม่ง นกแก้วหัวแพร นกแขกเต้า นกกระจอกชวา นกเป็ดแดง นกอีโก้ง และนกแก้วที่เป็นนกเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น นกหงส์หยก นกเลิฟเบิร์ด นกแก้วซันคอนัวส์ และนกแก้ว Monk Parakeet เป็นต้น
รายชื่อโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
๑.   การศึกษาชีววิทยาของนกขุนทอง
๒.   การสืบพันธุ์และสภาพการณ์ของนกขุนทองในประเทศไทย
๓.   ลักษณะถิ่นอาศัยของนกขุนทองในประเทศไทย
๔.   สาเหตุการเกิดนกขุนทองกลุ่มใหม่ในประเทศไทย
๕.   ผลของการผันแปรลักษณะภายนอกต่อการมีชีวิตรอดของนกขุนทอง
๖.   เทคนิคการแยกเพศนกขุนทอง
๗.   การเพาะและขยายพันธุ์นกขุนทองในกรงเลี้ยง
๘.   ปรสิตนอกที่พบบนตัวนกขุนทอง
๙.   ปรสิตในที่พบในนกขุนทอง
๑๐. องค์ประกอบของเลือดนกขุนทอง
๑๑. ฮอร์โมนและพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของนกขุนทอง
๑๒. การผันแปรเชิงภูมิศาสตร์ของลักษณะภายนอกของนกขุนทอง
๑๓. การค้นพบนกขุนทองกลุ่มใหม่ในประเทศไทย
๑๔. ปัจจัยการเรียนรู้และการกระตุ้นความสามารถในการเลียนเสียงของนกขุนทอง
๑๕. พฤติกรรมสังคมและการเลียนเสียงของนกขุนทอง
๑๖. การผันแปรของประชากรนกขุนทองในประเทศไทย
๑๗. ความแตกต่างระหว่างนกขุนทองเหนือและนกขุนทองใต้ของประเทศไทย
๑๘. การศึกษาชีววิทยาของนกขุนทองไทยบริเวณป่าที่พบนกขุนทองเหนือและนกขุนทองใต้อาศัยอยู่ร่วมกัน
๑๙. การศึกษาชีววิทยาประชากรของนกขุนทองในประเทศไทย
๒๐. การศึกษาการผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มระหว่างนกขุนทองเหนือนกขุนทองใต้และนกขุนทองกลุ่มใหม่ของประเทศไทย
๒๑. ผลของการผันแปรลักษณะภายนอกของนกขุนทองต่อการมีชีวิตรอด
๒๒. ความแตกต่างระหว่างนกขุนทองเหนือเพศผู้และเพศเมีย
๒๓. นิเวศน์วิทยาและการมีชีวิตรอดตามธรรมชาติของนกขุนทอง Gracula religiosa ของประเทศไทย
๒๔. อิทธิพลของแสงสว่างที่มีต่อน้ำหนักตัวลูกนกขุนทองเหนือ
๒๕. การเปรียบเทียบ DNA ภายในกลุ่มนกขุนทองเหนือและนกขุนทองใต้ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกันของประเทศไทย
๒๖. ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกขุนทองไทยในป่าธรรมชาติ
๒๗. ความหลากหลายทางชีวภาพของนกประจำถิ่นทางภาคใต้ของประเทศไทยที่นิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง
๒๘. การศึกษาเทคนิคเบื้องต้นในการเลี้ยงเลือดนกขุนทองไทย
๒๙. เปรียบเทียบการเจริญเติบโตระหว่างลูกนกขุนทองเหนือและนกขุนทองใต้ของประเทศไทย
๓๐. ความหลากหลายของประชากรปรสิตภายนอกในนกขุนทอง
๓๑. การศึกษาโครโมโซมเพศจากเซลล์โคนขนของนกขุนทอง
๓๒. ศึกษาอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของนกขุนทอง
๓๓. การศึกษาความแตกต่างของฮอร์โมนเพศระหว่างนกขุนทองเพศผู้และเพศเมีย
๓๔. การศึกษาโครโมโซมเพศจากเซลล์ผิวหนังของนกขุนทอง
๓๕. การศึกษา DNA ของนกขุนทองเพศผู้และเพศเมีย
๓๖. การศึกษาโครโมโซมเพศจากการเลี้ยงเลือดของนกขุนทอง
๓๗. การศึกษากายวิภาคเปรียบเทียบระหว่างนกขุนทองเพศผู้และเพศเมีย
๓๘. ความสามารถในการเลียนเสียงของนกขุนทอง
๓๙. การกระตุ้นการเลียนและเปล่งเสียงในนกขุนทอง
๔๐. ความแปรปรวนเชิงภูมิศาสตร์ของนกขุนทองไทย
๔๑. การกำเนิดความผันแปรของกลุ่มประชากรนกขุนทองในประเทศไทย
จากศักยภาพในการทำวิจัยและการจัดการนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายให้ทางสถานีวิจัยฯ ทำการวิจัย Pilot study โครงการเพาะและขยายพันธุ์กวางในกรงเลี้ยง ณ สถานีวิจัยสัตววิทยา วิทยาเขตบางนา (ราม ๒)โดยทางสถานีวิจัยฯ ได้ดำเนินการดัดแปลงจัดสรรพื้นที่บางส่วนเพื่อจัดสร้างกรงกวางเพื่อการเพาะและขยายพันธุ์ โดยได้เลือกเนื้อทราย (Hog deer) ซึ่งเป็นกวางพื้นเมืองของประเทศไทยมาทดลอง ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีและได้ผลผลิตลูกเนื้อทรายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
จากจุดเริ่มต้นนั้นซึ่งเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโครงการเพาะเลี้ยงสัตว์ที่คาดว่าในอนาคตน่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีคุณค่าในทุก ๆ ด้านนั่นก็คือกวาง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปศุสัตว์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การให้การศึกษาต่อชุมชน การสร้างรายได้แก่ประเทศชาติ การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ และที่สำคัญคือเป็นการเปิดเผยความจริงจากความเชื่อในเรื่องคุณค่าของยาโบราณ ที่มีความเชื่อมาเป็นพันปีของภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งแรก โดยผ่านการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันคุณค่าดังกล่าว
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ การศึกษานำร่อง (pilot study) ได้เริ่มต้นขึ้น ที่สถานีวิจัยสัตววิทยา สถาบันวิจัยและพัฒนา ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา (ราม ๒) ในขณะนั้นได้นำเนื้อทรายซึ่งเป็นกวางไทยชนิดหนึ่งมาทดลองเลี้ยง เก็บข้อมูลทางชีววิทยาโดยละเอียด เช่น ลักษณะของร่างกาย การกินอาหาร การสืบพันธุ์ จนได้ข้อมูลที่ถูกต้องแน่ชัดแล้วนำมาสรุปเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ นำเสนอมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี พ.ศ. ๒๕๔๕
ในปีเดียวกันได้มีการศึกษาถึงความเหมาะสมของพื้นที่ในประเทศไทย โดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อจัดสร้างฟาร์มกวาง ในท้ายสุดสรุปว่า พื้นที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวาง และจากการสำรวจสภาพป่าโดยทีมงานศึกษา ทราบว่าเดิมเป็นป่าธรรมชาติที่ปัจจุบันเป็นป่าเสื่อมโทรม สภาพพื้นที่ ๆ ค่อนข้างสูง น้ำไม่ท่วมขังในฤดูฝน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควรต่อการปลูกพืชอาหารสัตว์ เหมาะสำหรับจัดสร้างฟาร์มกวางได้
การดำเนินการในระยะแรกคือ การจัดสร้างรั้วของฟาร์ม บนพื้นที่ประมาณ ๗๕ ไร่ เป็นรั้ว ๒ ชั้น ปรับสภาพพื้นที่ และจัดสร้างกรงกวาง สำนักงาน โรงเรือนจัดเก็บวัสดุ โรงเรือนจัดเก็บอาหาร โรงเรือนเก็บหญ้าอาหารสำรอง บ่อเพิ่มแรงดันน้ำบนเนินเขา บ่อสำรองน้ำใกล้กรงกวาง บ้านพักคนงาน จัดทำแปลงหญ้าอาหารกวางโดยเฉพาะการจัดสร้างกรงกวาง และโรงเรือนจัดการกวาง โดยใช้หลักการจัดการปศุสัตว์สมัยใหม่ วัสดุรั้วกรงกวาง (ซึ่งเป็นแบบเฉพาะ) สั่งซื้อจากต่างประเทศ และออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ในเวลาเดียวกันต้องมีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงามโดยรักษาสภาพป่าไม้เอาไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น